ระบบเศรษฐกิจ

สังคม ทุนนิยม กับความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ

ต้องบอกก่อนว่า สภาพการณ์ของ สังคม เราในปัจจุบันนั้น เรียกได้ว่าจัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจในรูปแบบของ ทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ จึงไม่แปลกใจเลยที่สังคมเราจะกลายเป็นสังคมทุนนิยม และสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยอีกประการหนึ่งคือ ประเทศไทยของเรานั้นมีความเหลื่อมล้ำของสิ่งที่เรียกกันว่า คนจน และคนรวย สูงมากเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของปัญหานี้ที่เกิดขึ้นก็มาจากสังคมทุนนิยมนั้นเอง การรับรู้โดยทั่วไปของคนในสังคมนั้น จะทราบกันว่า ทุนนิยมนั้นจะเป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่เน้นการเปิดตลาดในรูปแบบที่เสรี เพื่อทำให้ สังคมก้าวหน้าอย่างมาก แต่ความเป็นจริงระบบตลาดของโลกเรานั้นไม่ได้มีความเสรีเหมือนที่ได้กล่าวกันไว้เลย เพราะหลายๆ ที่ได้มีการผูกขาดกับกลุ่มนายทุนต่างๆ รวมไปถึงบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้ผู้ลงทุนหรือบริษัทขนาดเล็กนั้นไปรอดได้ ซึ่งถึงมีโอกาสที่ได้เติบโตก็ยังน้อยกว่าหลายที่ใหญ่โตที่ได้มีการผูกขาดเอาไว้…

ระบบเศรษฐกิจ

ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมไทย

 วิเคราะห์ภาพรวมความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย – ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากการรับเงินโอนจากทางภาครัฐและคนในครัวเรือน ไม่ได้เกิดจากผลิตภาพของแรงงานที่มากขึ้น – ความเหลื่อมล้ำในด้านของความมั่งคั่งสูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลกและยังคงเพิ่มขึ้นเร็วขึ้น – ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้จากตัวเลขทางการอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริงจากข้อจำกัดด้านข้อมูล – ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยนั้นมีอัตราเติบโตลดลงเรื่อยๆกลับพบว่ารายได้การเติบโตนั้นพบได้เฉพาะในกลุ่มของคนรวย

ระบบการเงิน

บทวิเคราะห์ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศไทย ในปี 2562

เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยในปี 2562 ทำไมหลายคนถึงบอกว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงตกต่ำ หลังจากที่นักวิเคราะห์ได้ออกมาบอกว่าจีดีพีของเราโตขึ้น 4% ทำไมถึงยังมีความเสี่ยงอยู่ เรื่องนี้มันมีหลายปัจจัยด้วยกัน รวมเรื่องภายในประเทศ ในช่วงสิ้นปีนี้จะเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด มันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะร่วงหรือจะรุ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารของแต่ละประเทศเอง โดยวันนี้ที่เราออกมาวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งช่วงก่อน และหลังปี 2562

ระบบการเงิน

ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ระบบสังคมนิยม ในระบบแบบนี้รัฐบาลจะเป็นคนกำหนดว่า ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และแจกจ่ายอย่างไร ในกรณีนี้จะไม่มีบริษัทเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย รัฐบาลจ้างพนักงานทุกคน เป็นผู้กำหนดค่าจ้าง และหน้าที่การงานให้เพียงแต่ฝ่ายเดียว แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่เยอะ แต่ข้อเสียก็ไม่น้อยเช่นกัน ข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจแบบวางแผนคือ ขจัดความเหลื้อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน ไม่มีปัญหาการว่างงาน ส่วนข้อเสียของระบบแบบนี้ คือเป็นระบบที่ขาดแรงกระตุ้น ขาดการแข่งขัน ขาดประสิทธิภาพ

ระบบการเงิน

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นการผสมผสานระหว่าง “เศรษฐกิจแบบตลาด” กับ “ระบบเศรษฐกิจแบบตามสั่ง” และ “ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม” มันได้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสาม ในขณะที่มีข้อเสียอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ระบบแบบผสมนั้น มีลักษณะที่โดดเด่นดังนี้ คือเป็นระบบที่ปกป้องทรัพย์สินส่วนตัว, ช่วยให้ของอุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดราคาได้ และสุดท้าย ขับเคลื่อนโดยแรงจูงใจของผลประโยชน์ของตนเอง หรือแต่ละบุคคล

ระบบการเงิน

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ เป็นอย่างไร เรามีคำตอบ

ในกรณีส่วนใหญ่แต่ละประเทศในโลกมีระบบเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง ประเภทหนึ่งที่รู้จักกันจะเรียกว่าเศรษฐกิจแบบเผด็จการ (command economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง สามารถหลีกเลี่ยงจากความยากลำบากทางการเงิน และความไม่แน่นอน สำหรับเศรษฐกิจแบบนี้นั้น ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์เช่น อดีตสหภาพโซเวียต คิวบา หรือ เกาหลีเหนือ โครงสร้างทางเศรษฐกิจประเภทนี้มีชื่อเสียงในแง่ลบมากเนื่องจากทุกอย่างถูกควบคุมโดยรัฐบาล อย่างไรก็ตามโครงสร้างนี้สามารถให้ความแข็งแกร่งแก่พลเมืองในบางประเทศเช่นกัน นี่คือลักษณะที่ข้อดี-ข้อเสียของเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นี้

ระบบการเงิน

ทุนนิยม สังคมนิยม มีความแตกต่างกันอย่างไร

ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจหลักสองระบบที่ใช้กันทั่วโลก มันเป็นพื้นฐานโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมากมาย แบบจำลองเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น อาศัยสภาพตลาดเสรีเพื่อผลักดันนวัตกรรม สร้างความมั่งคั่ง และควบคุมพฤติกรรมองค์กร การเปิดเสรีของกลไกตลาดนี้ช่วยให้มีอิสระในการเลือก ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว ส่วนเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบผสมผสานองค์ประกอบของการวางแผนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยม

ระบบการเงิน

ตลาดในระบบเศรษฐศาสตร์ คืออะไร และส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ

ตลาด เป็นพื้นฐานสำคัญในระบบเศรษฐกิจ มันมีหน้าที่ในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาศัยการคำนวณจากอุปสงค์-อุปทาน ที่เป็นตัววัดความต้องการของตลาด เพื่อที่จะเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจนั้น คำว่า “ตลาด” เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย ตลาดนั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องมีตัวตนเสมอไป โดยเฉพาะในหลักเศรษฐศาสตร์นั้น ตลาดเป็นคำที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด

เทคนิคการตลาด

ตลาดในระบบเศรษฐกิจ หมายถึง อะไรกันนะมาดูกัน

ตลาดหมายถึงระบบที่มี อุปทาน (Supply) และอุปสงค์ (Demand) อาจเป็นการขายสินค้า หรือให้บริการด้านต่างๆ อุปทาน หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติ เม็ดเงินลงทุน และแรงงาน ส่วนอุปสงค์หมายถึงความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจ ฯลฯ ผู้ประกอบการพยายามขายสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคจ่ายเงินให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันผู้ซื้อมองหาราคาต่ำสุดสำหรับสินค้า หรือบริการที่พวกเขาต้องการ ส่วนแรงงานต้องการค่าตอบแทนที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะพวกเขา และนายจ้างเองพยายามหาพนักงานที่ดีที่สุดโดยจ่ายให้น้อยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เทคนิคการตลาด

โครงสร้างของตลาดมีกี่ประเภท และแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง

โครงสร้างตลาดที่หลากหลาย เป็นลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มันเป็นตัวบ่งถึงระดับของการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ลักษณะของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ขาย จำนวนผู้บริโภค ฯลฯ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดสี่ประเภทพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ โครงสร้างตลาดเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎี แต่มันช่วยให้เราเข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังการจำแนกโครงสร้างของตลาดได้