ตลาดในระบบเศรษฐกิจ หมายถึง อะไรกันนะมาดูกัน

ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ตลาดหมายถึงระบบที่มี อุปทาน (Supply) และอุปสงค์ (Demand) อาจเป็นการขายสินค้า หรือให้บริการด้านต่างๆ อุปทาน หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติ เม็ดเงินลงทุน และแรงงาน ส่วนอุปสงค์หมายถึงความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจ ฯลฯ ผู้ประกอบการพยายามขายสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคจ่ายเงินให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันผู้ซื้อมองหาราคาต่ำสุดสำหรับสินค้า หรือบริการที่พวกเขาต้องการ ส่วนแรงงานต้องการค่าตอบแทนที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะพวกเขา และนายจ้างเองพยายามหาพนักงานที่ดีที่สุดโดยจ่ายให้น้อยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ตลาดมีความสำคัญอย่างไรกับเศรษฐกิจ

1.ช่วยให้รู้ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อที่ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการ ลดต้นทุนในการผลิตที่สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เพราะผลิตสินค้ามาให้พอดี

2.ยกระดับค่าครองชีพให้มีมาตฐานที่สูงขึ้น

3.ตลาดแรงงานเติบโต เพราะมีความต้องการแรงงานมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว

กลไกการตลาดในระบบเศรษฐกิจ

ในทางเศรษฐศาสตร์ตลาดที่ดำเนินการภายใต้นโยบาย “ตลาดเสรี” คำว่าเสรีหมายความว่า “รัฐบาล” ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางด้าน ภาษี ค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ เพดานราคา  อย่างไรก็ตามราคาตลาดอาจถูกบิดเบือนโดยผู้ขายที่อำนาจผูกขาด หรือผู้ซื้อที่มีอำนาจผูกขาด การบิดเบือนราคาดังกล่าวอาจมีผลกระทบผู้อื่น ทั้งยังเป็นการลดประสิทธิภาพโดยรวมของตลาดอีกด้วย

ตลาดเป็นระบบที่มีโครงสร้าง โดยโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพนั้นถูกกำหนดโดยทฤษฎีของการแข่งขันที่สมบูรณ์ (perfect competition) เป็นโครงสร้างที่ใช้งานได้ดีในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานสามารถประมาณได้สำหรับตลาดโลกแห่งความเป็นจริง มีลักษณะคือ มีผู้ซื้อขายจำนวนไม่มาก ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังโครงสร้างแบบอื่นๆ อีกด้วย ได้แก่

1.การผูกขาดอย่างแท้จริง (Pure Monopoly) การผูกขาดสินค้าแต่เพียงเดียวในตลาด เป็นรูปแบบที่เข้ายากออกยาก ผู้ที่ทำการผูกขาดสินค้าจะผลิตน้อยลง แต่ขายในราคาที่แพงขึ้น โดยผู้บริโภคจะอาจโดนเอารัดเอาเปรียบจากการผูกขาดแบบนี้

2.ผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีคู่แข่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ขายน้อยรายมีแนวโน้มที่จะผลิตมากกว่าการผูกขาด ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทแข่งขันกันอย่างไร

3.การแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ (Perfect Competition) ประกอบด้วยบริษัทจำนวนมากที่ขายสินค้าให้ผู้บริโภค บริษัททำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายๆกัน โดยผู้บริโภคจะทราบเกี่ยวกับราคากับปริมาณ ตัวอย่างเช่น ตลาดผลไม้

4.การแข่งขันแบบผูกขาด ในตลาดการแข่งขันแบบผูกขาด บริษัทจะแข่งกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เป็นผลให้พวกเขาทำตัวเหมือนการผูกขาดในระยะสั้น หากบริษัทจะแข่งขันได้ในระยะยาว จะต้องต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเพื่อให้ทำกำไรได้สูงขึ้น

ประเภทของตลาด

ตลาดเป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งจะประกอบด้วยฝ่ายต่างที่มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่อาจแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการด้วยเงินจากผู้ซื้อ อาจกล่าวได้ว่าตลาดเป็นกระบวนการที่กำหนดราคาสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้มันยังคอยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน ช่วยให้การกระจายและการจัดสรรทรัพยากรในสังคม ตลาดนั้นมีสินค้าที่มีความหลากหลาย ซึ่งมันถูกแบ่งมันออกเป็นหลักๆ ได้ 4 ประเภท คือ

ตลาดผู้บริโภคแบบจับต้องได้ (Physical consumer markets)

1.ตลาดค้าปลีกอาหาร สินค้าทางเกษตรกร อาหารทะเล หรือร้านขายของชำ

2.ตลาดค้าปลีก ตลาดสาธารณะ ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า

3.ตลาดอสังหาริมทรัพย์

4.ตลาดสินค้ามือสองเช่น ตลาดนัด

ตลาดธุรกิจทางกายภาพ (Physical business markets)

1.ตลาดค้าส่ง การขายสินค้าให้กับผู้ค้าปลีก สำหรับผู้ใช้ในอุตสาหกรรม หน่วยงาน ผู้ประกอบการ ฯลฯ

2.ตลาดสำหรับสินค้าระดับกลางที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการอื่น ๆ

3.ตลาดแรงงาน ที่ซึ่งผู้คนขายแรงงานให้กับธุรกิจเพื่อแลกกับค่าแรง

4.ตลาดพลังงาน

ตลาดที่ไม่ใช่ทางกายภาพ (Non-physical markets)

1.ตลาดสื่อ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ

2.ตลาดอินเทอร์เน็ต การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต

ตลาดการเงิน (Financial markets)

1.ตลาดหุ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนหุ้นของบริษัท

2.ตลาดตราสารหนี้

3.ตลาดสกุลเงิน

4.ตลาดตราสารหนี้

5.ตลาดประกันภัย