ตลาดในระบบเศรษฐศาสตร์ คืออะไร และส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ

ตลาดในระบบเศรษฐศาสตร์
ตลาดในระบบเศรษฐศาสตร์ คืออะไร

ตลาด เป็นพื้นฐานสำคัญในระบบเศรษฐกิจ มันมีหน้าที่ในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาศัยการคำนวณจากอุปสงค์-อุปทาน ที่เป็นตัววัดความต้องการของตลาด เพื่อที่จะเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจนั้น คำว่า “ตลาด” เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย ตลาดนั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องมีตัวตนเสมอไป โดยเฉพาะในหลักเศรษฐศาสตร์นั้น ตลาดเป็นคำที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด

ประเภทของตลาด

ประเภทของตลาดเป็นตัวกำหนดว่าจะใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบใด ยกตัวอย่างเช่นกลยุทธ์ที่ใช้สำหรับตลาดผู้บริโภคนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ได้แบบเดียวกันกับตลาดอุตสาหกรรม เพราะตลาดอุตสาหกรรมจัดการขายสินค้าจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปเน้นการกระจายสินค้า การคิดต้นทุน และการตลาด ประเภทของตลาดหลักๆ มีอยู่ด้วยกัน 6 ประเภท ได้แก่

1.ตลาดที่มีสถานที่ตั้งอยู่จริง เป็นสถานที่สำหรับพบปะกันระหว่างผู้ซื้อขาย ซึ่งสามารถทำธุรกรรมเพื่อแลกกับเงิน ตัวอย่าง เช่น ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก

2.ตลาดเสมือนจริง / ตลาดอินเทอร์เน็ต สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ซื้อขายไม่จำเป็นต้องมาเจอกันหรือโต้ตอบกันเหมือนกับในตลาดปกติ ยกตัวอย่างเช่น eBay หรือ Amazon

3.ตลาดประมูล เป็นสถานที่ผู้ขายสมารถนำของมาประมูลเพื่อให้ได้มูลค่าสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การแลกเปลี่ยนจะสมบูรณ์เมื่อทั้งผู้ขายกับผู้ซื้อเห็นด้วยกับราคา ณ เวลานั้น

4.ตลาดผู้บริโภค ตลาดประเภทนี้หมายถึงการตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ ยกตัวอย่างสินค้า เช่น อาหารสด หนังสือพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รองเท้า เสื้อผ้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการอย่าง โรงแรม ร้านเสริมสวย มหาวิทยาลัย ฯลฯ

5.ตลาดอุตสาหกรรม เป็นตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการขายสินค้าและบริการ นักการตลาดเหล่านี้ไม่ได้กำหนดเป้าหมายไปที่ตลาดผู้บริโภค ตัวอย่างของตลาดอุตสาหกรรมประกอบด้วย สินค้าเพื่อการตกแต่ง (เฟอร์นิเจอร์) วัตถุดิบสำหรับการผลิต (ก๊าซและสารเคมี) หรือ บริการด้านโซลูชั่นต่างๆ (หน่วยงานความปลอดภัย งานบริการด้านกฎหมาย ฯลฯ)

6.ตลาดมืด เป็นตลาดที่จัดหาสินค้าผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด อาวุธสงคราม ฯลฯ

โครงสร้างหลักของตลาด

1.ตลาดแข่งขันผูกขาด (Monopolistic Competition)

ในการแข่งขันแบบผูกขาดมีผู้ผลิต-ผู้บริโภคจำนวนมากในตลาด โดยทุกบริษัทจะมีระดับการควบคุมตลาดเท่ากัน เมื่อเทียบกับ ในขณะที่การผูกขาดในตลาด (Monopolistic Market) มีอำนาจในการควบคุมตลาดโดยรวม การแข่งขันแบบผูกขาดนั้นมีข้อจำกัดน้อยมาก ในการเข้าแข่งขัน หากบริษัทรู้สึกว่าผลกำไรนั้นน่าดึงดูดเพียงพอ ก็จะเกิดการแข่งกันป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาด ทำให้การแข่งขันแบบนี้เหมือนกับที่เกิดขึ้นในตลาดแข่งขันสมบูรณ์

อย่างไรก็ตามในตลาดที่มีผู้แข่งขันผูกขาด แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านของ แต่ก็มีความต่างกันเพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น ยกตัวช่างเช่น โทรศัพท์มือถือ รองเท้า เสื้อผ้า ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มประเภทเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติที่แตกต่าง เช่น ความต่างของแบรนด์ หรือคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ตลาดผูกขาดจะไม่มีสินค้ามาทดแทนกันได้

2.ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition)

ในตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบนั้น ราคาถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน บริษัทในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์จะมีอำนาจในการกำหนดราคา เพราะไม่มีบริษัทใดที่ใหญ่พอจะควบคุมได้ทั้งตลาด บริษัทในตลาดนี้จะมีการแข่งขันสูงมาก เพราะมีส่วนแบ่งตลาดเพียงเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างจากตลาดที่ผูกขาด  มีปัญหาข้อผูกมัดที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้มีบริษัทเข้าๆ ออกๆ อยู่เป็นเป็นประจำ

ข้อดีของตลาดนี้คือมีผู้ซื้อขายจำนวนมาก ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะซื้อสินค้าหรือบริการได้ บริษัทในตลาดนี้จะพยายามแข่งขันกันทำกำไรให้มากที่สุด พวกขาจะออกไปเมื่อไม่สามารถทำกำไรเพิ่มได้มากขึ้น หากพวกเขาจะได้รับผลกำไรดีเกินไป บริษัทอื่นๆ จะเข้าสู่ตลาดเพื่อแย่งส่วนแบ่งของกำไร นี่เป็นเพียงโครงสร้างทางทฤษฎีเท่านั้น