ทุนนิยม สังคมนิยม มีความแตกต่างกันอย่างไร

สังคมนิยม
สังคมนิยมนั้นคือหนึ่งในระบบของสังคม

ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจหลักสองระบบที่ใช้กันทั่วโลก มันเป็นพื้นฐานโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมากมาย แบบจำลองเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น อาศัยสภาพตลาดเสรีเพื่อผลักดันนวัตกรรม สร้างความมั่งคั่ง และควบคุมพฤติกรรมองค์กร การเปิดเสรีของกลไกตลาดนี้ช่วยให้มีอิสระในการเลือก ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว ส่วนเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบผสมผสานองค์ประกอบของการวางแผนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยม

ลักษณะสำคัญของทุนนิยม

1.อยู่บนฐานเศรษฐกิจฐานที่ประกอบด้วยผู้ซื้อ (คน) กับ ผู้ขาย (บริษัท เอกชนหรือ บริษัท ที่เป็นเจ้าของ)

2.สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลกำไร ผลกำไรนี้จะถูกนำกลับไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจ

3.รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตลาดเสรี ความหมายตลาดจะเป็นตัวกำหนดการลงทุน การผลิต การจัดจำหน่าย การตัดสินใจ และการแทรกแซงของรัฐบาลจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการบังคับใช้กฎ หรือนโยบายที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจ

4.มีความจำเป็นต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

5.นายทุนเชื่อว่ารัฐบาลนั้น ไม่อาจใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนกับองค์กรเอกชน

ข้อดี-ข้อเสียของระบบทุนนิยม

1.ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้คนจะมีตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย ตัวเลือกนี้นำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้น ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีขึ้น

2.ผลิตตามความต้องการของตลาด สินค้าหรือบริการที่ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงในการลงทุน

3.กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) นำไปสู่มาตรฐานของค่าครองชีพที่ดีขึ้น

4.ข้อเสีย – โอกาสโดนผูกขาดอำนาจ เมื่อบริษัทที่มีอำนาจผูกขาด (เมื่อบุคคลหรือองค์กรใด บริษัท หนึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าโภคภัณฑ์เพียงหนึ่งเดียว) ใช้ตำอำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด ด้วยการขึ้นราคาสินค้าตามใจ

5.ข้อเสีย – ความไม่เสมอภาค สังคมทุนนิยมตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในการส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่คนรุ่นหลัง หากคนกลุ่มเล็กๆ ถือเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมด จะทำให้ความมั่นคงถูกส่งต่อไปยังกลุ่มคนเดียวกัน เป็นผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคม

6.ข้อเสีย – ภาวะถดถอย/การว่างงาน เศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของตลาดผู้บริโภคนั้น จะมีการเติบโต/ลดลงอย่างสม่ำเสมอ

ลักษณะสำคัญของสังคมนิยม

1.ฐานการผลิตเป็นของรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ (รัฐ)

2.มีโอกาสเท่ากันทุกคน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะต้องร่วมมือกัน โดยผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะต้องถูกส่งคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

3.กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับการวางแผนโดยหน่วยงานวางแผนกลาง ขึ้นอยู่กับความต้องการการบริโภคของมนุษย์ และความต้องการทางเศรษฐกิจ

ข้อดี-ข้อเสียของระบบสังคมนิยม

1.ข้อดี – พลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ ฯลฯ ได้อย่างเท่าเทียม

2.ข้อดี – กำจัดการผูกขาดในบริษัท

3.ข้อดี – เกิดความเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งชนชั้น

1.ข้อเสีย – เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ทำให้มีอำนาจในการควบคุมชีวิตของผู้คนในทุกด้าน รวมถึงสถานที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย

2.ข้อเสีย – การขาดนวัตกรรม มีแรงจูงใจทางการเงินน้อยหรือไม่มีเลย ไม่มีเปิดโอกาสรับแนวคิดใหม่จากคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา

วันนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม 100% อันที่จริงเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่มักจะมีองค์ประกอบระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยมผสมอยู่ด้วย อย่างเช่นในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก โดยทั่วไปถือว่าเป็นระบบสังคมนิยม รัฐบาลจะให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา และบำนาญ อย่างไรก็ตามการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว

ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ เศรษฐกิจของคิวบา จีนเวียดนาม รัสเซีย เกาหลีเหนือ ใช้ระบบสังคมนิยมร่วมกับคอมมิวนิสต์  ในขณะที่ประเทศในยุโปร เช่น บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ มีพรรคสังคมนิยมที่เข้มแข็ง โดยมีรัฐบาลของพวกเขาให้การสนับสนุนทางสังคม รวมถึงบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็อยู่ในลักษณะของทุนนิยม อย่างที่เห็นกันว่าทุกอย่างล้วนมีข้อดี-ข้อเสีย ในแบบฉบับของตนเอง ดังนั้นหลายประเทศจึงหันมาใช้ระบบแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการรวมแนวคิดของทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน