ระบบเศรษฐกิจแบบผสม คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

เศรษฐกิจแบบผสม
ทำความรู้จัก ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นการผสมผสานระหว่าง “เศรษฐกิจแบบตลาด” กับ “ระบบเศรษฐกิจแบบตามสั่ง” และ “ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม” มันได้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสาม ในขณะที่มีข้อเสียอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ระบบแบบผสมนั้น มีลักษณะที่โดดเด่นดังนี้ คือเป็นระบบที่ปกป้องทรัพย์สินส่วนตัว, ช่วยให้ของอุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดราคาได้ และสุดท้าย ขับเคลื่อนโดยแรงจูงใจของผลประโยชน์ของตนเอง หรือแต่ละบุคคล

เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะบางอย่างของเศรษฐกิจแบบวางแผน อนุญาตให้รัฐบาลออกมาปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีจะบทบาทอย่างมากในการทหาร การค้าระหว่างประเทศ บทบาทของรัฐบาลในด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของพลเมือง เศรษฐกิจแบบผสมอาจอนุญาตให้รัฐบาลเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน การผลิตพลังงาน หรือแม้กระทั่งธนาคาร นอกจากนี้รัฐบาลอาจจัดการด้านดูแลสุขภาพ สวัสดิการ และโครงการเกษียณอายุด้วย

ข้อดีของระบบแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสมมีข้อดีทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ก่อนอื่นจะกระจายสินค้าและบริการไปยังที่ที่มีความต้องการมากที่สุด ช่วยให้สามารถวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงของความอุปสงค์-อุปทานได้ ประการที่สองมันตอบแทนผู้ผลิตพร้อมผลกำไรสูงสุด ประการที่สามส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสร้างสรรค์ ถูก และมีประสิทธิภาพ ประการที่สี่จัดสรรเงินทุนให้กับผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมทันสมัยมากที่สุดโดยอัตโนมัติ

เศรษฐกิจแบบผสมยังช่วยลดข้อเสียของเศรษฐกิจการตลาดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจตลาดไม่ได้รวมถึงการป้องกันชาติ เทคโนโลยี หรือ การบินและอวกาศ ในขณะที่มีรัฐบาลขนาดใหญ่จะทำหน้าที่ดูแลผู้แข่งขันทุกคนอย่างทั่วถึง โดยเป็นการลบข้อเสียเปรียบจากระบบเดิม ด้วยการเพิ่มจุดแข็งใหม่เข้าไปแทน ซึ่งจะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่แข่งขัน หรือสร้างสรรค์มากที่สุดเท่านั้น

ข้อเสียของระบบแบบผสม

แน่นอนว่าระบบผสมยังคงมีข้อเสียเปรียบจากทั้งแต่ละรูปแบบอยู่ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลต้องการที่จะเน้นจุดแข็งในส่วนไหนก็ปรับในส่วนนั้นให้เข้ากัน ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดมีความเสรีมากเกินไป มันจะทำให้เกิดการแข่งขันน้อยลง แถมยังเป็นการจำกัดขนาดของธุรกิจไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไป ตามกฎระเบียบการต่อต้านการผูกขาด สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ถัดมาคือ “การจ่ายภาษีมากขึ้น” แน่นอนว่าการแทรกแซงของรัฐมากขึ้นในทางเศรษฐกิจนั้น ต้องอาศัยการลงทุนจากรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษี เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นหมายความว่าประชาชนต้องจ่ายภาษีมากตามไปด้วย สิ่งนี้จะนำไปสู่ผลกระทบด้านลบหลายอย่าง เช่น แรงจูงใจในการทำงานลดลง เนื่องจากพนักงานเห็นสัดส่วนรายได้ที่หายไป เพราะต้องนำไปจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้น ในขณะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมากนั้น อาจล็อบบี้รัฐบาลเพื่อรับเงินอุดหนุนและลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบแบบผสม

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบผสม ช่วยปกป้องความเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว นอกจากนี้ยัง จำกัดการแทรกแซงของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมนวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นในตลาด ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญยังส่งเสริมให้รัฐบาลต้องส่งเสริมสวัสดิการทั่วไป ที่สร้างความสามารถในการใช้แง่มุมต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเมื่อจำเป็น โดยยังคงให้สิทธิเสรีในการบริหารเช่นใน ”อามิช” รัฐเพนซิลเวเนีย ยังคงใช้ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจของโลกส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจแบบผสม โลกาภิวัตน์ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยง ประชาชนส่วนใหญ่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการจากการค้าระหว่างประเทศ มันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าในการนำเข้าน้ำมันจากซาอุ เสื้อผ้าจากจีน เพราะการผลิตเองจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ตลาดเสรีเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกเพราะไม่ใช่มีแค่รัฐบาลเดียวที่ควบคุม อาจมีองค์กรระดับโลกมีอำนาจในการออกกฎระเบียบหรือข้อตกลง แต่ไม่มีใครที่สามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ