ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน
ทำความรู้จัก ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน

ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ระบบสังคมนิยม ในระบบแบบนี้รัฐบาลจะเป็นคนกำหนดว่า ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และแจกจ่ายอย่างไร ในกรณีนี้จะไม่มีบริษัทเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย รัฐบาลจ้างพนักงานทุกคน เป็นผู้กำหนดค่าจ้าง และหน้าที่การงานให้เพียงแต่ฝ่ายเดียว แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่เยอะ แต่ข้อเสียก็ไม่น้อยเช่นกัน ข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจแบบวางแผนคือ ขจัดความเหลื้อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน ไม่มีปัญหาการว่างงาน ส่วนข้อเสียของระบบแบบนี้ คือเป็นระบบที่ขาดแรงกระตุ้น ขาดการแข่งขัน ขาดประสิทธิภาพ

ข้อดีของเศรษฐกิจแบบวางแผน

1.ความไม่เท่าเทียมลดลง

เนื่องจากรัฐบาลควบคุมวิธีการผลิตในระบบเศรษฐกิจ จึงกำหนดว่าใครทำงานที่ไหน และจ่ายเท่าไหร่ โครงสร้างแบบนี้แตกต่างอย่างชัดเจนกับเศรษฐกิจตลาดเสรี ซึ่งบริษัทเอกชนจะเป็นควบคุมวิธีการผลิต การจ้างแรงงานตามความต้องการทางธุรกิจ รวมถึงจ่ายค่าแรงให้กับแรงงาน ในระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีจะใช้กฎว่าด้วยอุปสงค์-อุปทาน (supply and demand) กำหนดว่าคนงานที่มีทักษะเฉพาะในสาขาที่มีความต้องการสูง จะได้รับค่าจ้างสูงให้สอดคล้องกับทักษะ ในขณะที่คนทั่วไปที่ไม่มีทักษะในการประกอบอาชีพ จะมีค่าจ้างที่น้อยกว่าเป็นอย่างมาก

2.ระดับการว่างงานต่ำ

แตกต่างจากมือที่มองไม่เห็นในตลาดเสรี ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยบริษัทหรือบุคคลเดียว รัฐบาลสามารถที่จะกำหนดค่าจ้าง ตำแหน่งงาน เพื่อจัดหาแรงงานในค่าจ้างที่เหมาะสม

3.ไม่แสดงหาผลกำไร

บริษัทส่วนใหญ่ในระบบตลาดเสรี มักจะมีแรงจูงใจที่จะกอบโกยผลกำไรไห้ได้มากที่สุด ไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบวางแผน รัฐบาลสามารถปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่คำนึงถึงผลกำไรและขาดทุน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลคิวบามอบการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมให้แก่ประชาชนฟรี

ข้อเสียของเศรษฐกิจแบบวางแผน

1.การขาดการแข่งขัน

นักการตลาดมองว่าการขาดการแข่งขันโดยธรรมชาติในระบบเศรษฐกิจนั้น เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม และป้องกันไม่ให้ราคาของสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค แม้ว่าหลายคนมองว่าการควบคุมแบบนี้มีข้อดีมากกว่า แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผลกำไรนั้น เป็นแรงจูงใจในการขับเคลื่อนนวัตกรรม อย่างน้อยส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าด้านการแพทย์และเทคโนโลยีจำนวนมาก ก็มาจากประเทศที่มีเศรษฐกิจตลาดเสรีเช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ญี่ปุ่น

2.ขาดประสิทธิภาพ

การขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานนั้น เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลทำหน้าที่ควบคุมทุกแง่มุมของเศรษฐกิจของประเทศ ลักษณะการแข่งขันบังคับให้บริษัทเอกชนในระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีลดคุณภาพของพวกเขาลง เพื่อที่จะหาวิธีลดต้นทุนการดำเนินงาน หากพวกเขาจมอยู่กับค่าใช้จ่ายเหล่านี้มากเกินไป พวกเขาจะได้กำไรน้อยลง หรือต้องขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย ถ้าเกิดไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ในที่สุดพวกเขาจะถูกขับออกจากตลาดโดยคู่แข่งที่สามารถผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากกว้าได้

ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้การผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่รู้สึกกดดันจากคู่แข่งหรือผู้บริโภคที่คำนึงถึงราคาเพื่อลดต้นทุน หรือพยายามพัฒนาตัวเอง พวกเขามักจะตอบสนองได้ช้า หรือบ้างครั้งก็ไม่แสดงท่าทีสนใจต่อความนิยมของผู้บริโภคในประเทศเลยด้วยซ้ำ นี่จึงเป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำไมประเทศที่ใช้ระบบแบบนี้จึงไม่ค่อยมีนวัตกรรมแปลกใหม่เกิดขึ้น

ปัจจุบันนี้ประเทศเดียวในโลกที่มีเศรษฐกิจการปกครองแบบวางแผน หรือ สังคมนิยมสมบูรณ์แบบคือ “เกาหลีเหนือ” แม้แต่ประเทศนี้เองก็มีตลาดมืดจำนวนมากซึ่งไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่เมื่อเทียบกับรัฐบาลอื่นแล้ว พวกเขาสามารถควบคุมเศรษฐกิจได้ดีกว่ารัฐบาลอื่นๆ ในโลก อย่างไรก็ตามทุกประเทศในโลกยังแอบหยิบยกลักษณะของเศรษฐกิจแบบวางแผนมาใช้ด้วย ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลจัดให้มีโรงเรียนของรัฐแทนที่จะปล่อยให้การศึกษาอยู่ในการดูแลของภาคเอกชน